วันจันทร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2556


ทดสอบกลางภาคเรียน
คำชี้แจง ให้นักศึกษาอ่านแล้วตอบคำถามดังต่อไปนี้
1.กฎหมายคืออะไร จงอธิบาย และการบังคับใช้กฎหมายจะต้องเป็นไปด้วยความเสมอภาคโดยไม่เลือกปฏิบัติหมายความว่าอย่างไร
ตอบ กฎหมายคือข้อบังคับของรัฐาธิปัตย์ ที่บัญญัติขึ้นเพื่อใช้ควบคุมพฤติกรรมของพลเมือง หากใครฝ่าฝืน จะถูกลงโทษ รัฐาธิปัตย์ คือ ผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐ (ของประเทศไทยรัฐาธิปัตย์ แบ่้งออกเป็น 3 ฝ่ายได้แก่ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ แต่ละฝ่ายก็จะมีอำนาจสูงสุด เฉพาะ ด้านของตนเท่านั้น สรุปก็คือรัฐาธิปัตย์ของไทย ก็มีด้านบริหาร บัญญัติและตัดสิน นั่นเอง) โทษ สำหรับโทษจะมีโทษทางอาญา กับโทษทางแพ่ง โทษทางอาญามี ๕ ขั้น(สถาน) ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน สำหรับโทษทางแพ่ง ก็คือการชดใช้ ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ซึ่งเรียกว่า "ค่าสินไหมทดแทน"

2.การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผูู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งของรัฐ และเอกชน จะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่เพราะอะไร จงให้เหตุผลประกอบ
ตอบ เห็นด้วย เพราะการที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับบุคลที่ต้องการจัดการศึกษาให้บุคคลทุกระดับเนื่องจากเป็นการประกันคุณภาพว่าผู้ที่จะมาสอนบุคคลอื่นนั้นต้องมีความพร้อมทั้งด้านร่างกาย สติปัญญาและมีความรักในสายอาชีพนี้หรือมีอุดมการณ์ในความเป็นครูเหมือนกันไม่ว่าจะเป็นบุคคลของรัฐบาลหรือเอกชน   ใบประกอบวิชาชีพนั้นเป็นส่วนหนึ่งในการยืนยันเรื่องนี้ได้ว่าบุคคลใดๆทั้งภาครัฐและเอกชนได้ผ่านการทดสอบด้านของความรู้ ความสามารถหรือเรียนรู้ในการให้ความรู้แก่ผู้อื่นแล้ว  จึงสามารถไปถ่ายทอดความรู้ได้อย่างเป็นระบบและเป็นบุคคลที่สามารถให้ความรู้แก่ผู้อื่นได้หรือสามารถบริหารการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3.ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง อธิบายยกตัวอย่าง
                ตอบ สำหรับข้าพเจ้าคิดว่าจัดให้เป็นการจัดงานประจำปีของโรงเรียนบอกจุดประสงค์ของการจัดงานให้คนในชุมชนรู้ทั่วถึงกันมาร่วมด้วยช่วยกันและจัดให้นักเรียน และคนในชุมชนมาตั้งซุ้มขายสินค้าราคาประหยัด  หรือผลผลิตในชุมชน   มีการให้นักเรียนออกร้านขายของและรับบริจาคจากเงินหรือสิ่งของผู้มีจิตศรัทธาเพื่อนำมาสมทบทุนให้แก่โรงเรียน เป็นการสร้างความร่วมมือภายในชุมชนด้วย  

4.รูปแบบการจัดการศึกษามีกี่รูปแบบอะไรบ้าง และการศึกษาในระบบมีกี่ระดับประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ  รูปแบของการศึกษามี 3 รูปแบบ คือ   การศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย 
        การศึกษาในระบบมี 3 ระบบ     คือ 1. การศึกษาขั้นประถมศึกษา 6 ปี (6 ระดับ ชั้น) 
   2. การศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 3 ปี (3 ระดับชั้น)
   3.
การศึกษาขั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 3 ปี

5.ท่านเข้าใจการศึกษาภาคบังคับและการศึกษาขั้นพื้นฐานเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร อธิบายยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ  สำหรับดิฉันคิดมีว่าความแตกต่างกันคือ การศึกษาภาคบังคับเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาขั้นพื้นฐานก็จริง  คือการศึกษาภาคบังคับนั้นเป็นการศึกษาชั้นปีที่หนึ่งถึงชั้นปีที่เก้า( 9 ปี ) ของการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นการบังคับให้บุคคลเข้าเรียนซึ่งถือว่าเป็นหน้าที่ของพลเมือง  แต่การศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นไม่บังคับให้ประชาชนต้องเข้าศึกษา(ต่อจากการศึกษาภาคบังคับอีก 3 ปีคือ 12 ปี ) แต่มีสิทธิที่จะเข้าศึกษาเท่าเทียมกันซึ่งเป็นสิทธิของคนไทย  เช่น เด็กชายบุญชู เข้าศึกศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 นั้นคือ เด็กชายบุญชูเข้ารับการศึกษาภาคบังคับแล้ว  และเด็กชายบุญชู ต้องการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจนจบมัธยมศึกษาปีที่ 6 นั้นคือเด็กชายบุญชู ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานแล้ว เป็นต้น

6.การแบ่งส่วนราชการในส่วนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2553 มีการแบ่งส่วนราชการเป็นอย่างไร และมีใครเป็นหัวหน้าส่วนราชการดังกล่าว อธิบายยกตัวอย่าง
ตอบ หัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรงต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
1 สำนักงานรัฐมนตรี                                                                               2 สำนักงานปลัดกระทรวง
3
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา                                                       4สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
5 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
6 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

7.จงบอกเหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546
                        ตอบ     กฎหมายฉบับนี้เป็นการแก้ไขพระราชบัญญัติครู พุทธศักราช 2488 ให้เป็นกฎหมายว่าด้วยสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา และกำหนดให้มีองค์กรเกี่ยวกับวิชาชีพครู 2 องค์กร ได้แก่
 1 สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกว่า คุรุสภา มีฐานะเป็นนิติบุคคล อยู่ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่เกี่ยวกับศึกษา ตามมาตรา 53 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  
2 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากร ทางการศึกษา มีฐานะเป็นนิติบุคคล อยู่ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสวัสดิการ สวัสดิภาพ และส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาของกระทรวง รวมทั้งบริหารจัดการองค์การค้าของคุรุสภา

8.ท่านเข้าใจหรือไม่ว่า ถ้ามีบุคลากรไปให้ความรู้หรือสอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นครั้งคราว หรือไปสอนเป็นประจำ  หากพิจารณาจากพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2546 กระทำผิดตาม พรบ.นี้หรือไม่เพราะเหตุใด
ตอบ  ไม่กระทำผิด  เพราะถือว่าเป็นการไปให้ความรู้แก่นักเรียน  อาจจะไปในรูปแบบของปราชญ์ หรือวิทยากร   หรือบุคลากรเชี่ยวชสญในด้านนั้นซึ่งสามารถมาหมุนเวียนให้ความรู้ได้
9.ท่านเข้าใจความหมายโทษทางวินัย สำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา อย่างไร อธิบาย และโทษทางวินัยมีกี่สถาน อะไรบ้าง   
                       ตอบ  ดิฉันเข้าใจว่าโทษทางวินัยคือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้กระทำผิดทางวินัยตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ วินัยในที่นี้คือ กฎหมาย กฎ  ระเบียบ  ข้อบังคับ และแบบธรรมเนียมที่กำหนดให้ปฏิบัติตามหรืองดเว้นการปฏิบัติ ซึ่งโทษนั้นจะนักหรือเบาขึ้นอยู่กับว่าทำผิดวินัยร้ายแรงเพียงใด 
โทษทางวินัยมี 5 สถาน คือ  1.  ภาคทัณฑ์                           2. ตัดเงินเดือน
                                                 3. ลดขั้นเงินเดือน                 4. ปลดออก
                                                  5. ไล่ออก

10.ท่านเข้าใจคำว่า เด็ก  เด็กเร่ร่อน เด็กกำพร้า เด็กที่อยู่ในสภาพลำบาก เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด ทารุณกรรม ที่สอดคล้องกับ พรบ. คุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อย่างไรจงอธิบาย ตามความเข้าของท่าน
ตอบ         เด็ก            คือ บุคคลซึ่งมีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีบริบูรณ์ และยังไม่มีวุฒิภาวะแต่ไม่รวมถึงผู้ที่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส
         เด็กเร่ร่อน     คือ เด็กที่ไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครอง เด็กต้องเร่ร่อนไปในที่ต่าง ๆ หรือเด็กที่มีพฤติกรรมใช้ชีวิตเร่ร่อนจนน่าจะเกิดอันตรายต่อตนเองหรือผู้อื่นได้
        เด็กกำพร้า          คือ เด็กที่บิดาหรือมารดาเสียชีวิต เด็กที่ไม่ปรากฏบิดามารดาหรือไม่สามารถสืบหาบิดามารดาได้
เด็กที่อยู่ในสภาพยากลำบาก                         คือ เด็กที่อยู่ในครอบครัวยากจนหรือบิดามารดาหย่าร้าง และได้รับความลำบาก หรือเด็กที่ต้องรับภาระหน้าที่ในครอบครัวเกินวัยหรือกำลังความสามารถและสติปัญญา หรือเด็กที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้
      เด็กพิการ              คือ เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย สมอง สติปัญญา หรือจิตใจ ไม่ว่าความบกพร่องนั้นจะมีมาแต่กำเนิดหรือเกิดขึ้นภายหลัง
เด็กที่เสี่ยงต่อการกระทำผิด  คือ เด็กที่ประพฤติตนไม่สมควร เด็กที่ประกอบอาชีพหรือคบหาสมาคมกับบุคคลที่น่าจะชักนำไปในทางกระทำผิดกฎหมายหรือขัดต่อศีลธรรมอันดี หรืออยู่ในสภาพแวดล้อมหรือสถานที่อันอาจชักนำไปในทางเสียหาย 

สามารถติดต่อได้ที่ 0848472699