วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


ให้นักศึกษาเนื้อหาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ

1.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
2.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545
3.พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553
4.ให้ศึกษา PowerPoint
5.หลังจากนักศึกษาได้ศึกษาเนื้อหาในบทเรียนนี้แล้วให้นักเรียนตอบคำถาม

  1. ท่านคิดอย่างไร ถ้ารัฐธรรมนูณคือกฎหมายแม่บท และพระราชบัญญัติน่าจะเป็นอะไร จงอธิบายให้เหตุผล
ตอบ  นื่องจากพระราชบัญญัติ คือบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปรกติ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐและพระราชบัญญัติจะต้องสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญถ้าขัดจะถือว่าเป็นโมฆะ    และพระราชบัญญัติฉุกเฉินที่ถูกตั้งขึ้นในเขตใดเขตหนึ่งของประเทศสามารถใช้ได้เพียงในเขตที่ประกาศเท่านั้นแต่ไม่สามารถนำไปใช้นอกเขตที่ประกาศใช้ได้       


 2.      ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษากำหนดไว้อย่างไรบ้างจงอธิบาย
ตอบ   การจัดการศึกษาให้ยึดหลักดังนี้
 (1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน
 (2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
 (3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ความมุ่งหมายในการจัดการศึกษาที่ควรจะให้ประชาชนเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตคือสามารถเรียนรู้ได้ตามแหล่งข้อมูลต่างๆและสถานศึกษาทั้งแบบเปิดและแบบปิดได้ไม่มีการกีดกั้น และสถานศึกษาต้องจัดกิจกรรมการเรียนที่สอดคล้องกับธรรมชาติ ความสนใจ และความถนัดของผู้เรียน เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกัน  และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา


   3. หลักในการจัดการศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ หลักสำคัญในการจัดการศึกษา (ตามมาตรา 8) กำหนดไว้ 3 ประการ คือการศึกษาตลอดชีวิต การมีส่วนร่วม และการพัฒนาต่อเนื่อง ดังนี้
1.   การศึกษาตลอดชีวิต  ถือว่าการจัดการศึกษานั้นเป็นการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับประชาชน หลักการคือคนทุกคนต้องได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต การศึกษานี้ต้องครอบคลุมทุกด้าน มิใช่เฉพาะชีวิตการงานเท่านั้น เพราะไม่เพียงบุคคลต้องพัฒนาตนเองและความสามารถในการประกอบอาชีพของตน คนแต่ละคนต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการพัฒนาชุมชนและประเทศโดยส่วนรวม ทั้งด้านเศรษฐกิจ ชีวิตความเป็นอยู่ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและวัฒนธรรมด้วย ทั้งนี้ เพราะสังคม เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม และพัฒนาการทางเทคโนโลยีเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องศึกษาความเป็นไปรอบตัวเพื่อให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม
2.   การมีส่วนร่วม สังคมต้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การมีส่วนร่วมนั้นแสดงออกได้หลายลักษณะ เช่น ร่วมเป็นกรรมการ ร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมสนับสนุนกิจกรรมทางการศึกษา ร่วมสนับสนุนทรัพยากร ร่วมติดตามประเมิน ส่งเสริมให้กำลังใจและปกป้องผู้ปฏิบัติงานที่มุ่งประโยชน์ต่อส่วนรวม หลักการนี้ถือว่าอนาคตของประเทศและความจำเริญรุ่งเรืองของสังคมไทย เป็นความรับผิดชอบของคนไทยทุกคนมิใช่ถูกจำกัดโดยตรงในการจัดการศึกษา ดังนั้นจึงเป็นทั้งสิทธิและหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่จะเข้ามีส่วนร่วมในลักษณะต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ามีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ เพื่อแก้ไขปัญหา อุปสรรคของการจัดการศึกษา ช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาและช่วยดูแลการจัดการศึกษาเป็นไปอย่างถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
3.   การพัฒนาต่อเนื่อง  การศึกษาเป็นเรื่องที่ต้องปรับเปลี่ยนตลอดเวลาให้ทันกับความรู้ที่ก้าวหน้าไปไม่หยุดยั้ง ดังนั้น การจัดการศึกษาต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การพัฒนานี้มีทั้งการค้นคิดสาระและกระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ การประยุกต์ปรับปรุงเนื้อหาสาระที่มีอยู่ และการติดตามเรียนรู้เนื้อหาสาระที่มีผู้ประดิษฐ์คิดค้นมาแล้ว ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายไม่ว่าครู ผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา ต้องถือเป็นภาระหน้าที่สำคัญ ในการปรับปรุงตนเองให้ทันโลก และทันสมัย แต่ขณะเดียวกันก็ต้องทำความเข้าใจสภาพแวดล้อม เพื่อประยุกต์ความรู้ได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้ การรับความรู้มาถ่ายทอดโดยปราศจากดุลยพินิจอาจก่อความเสียหายโดยไม่คาดคิด จึงเป็นหน้าที่ของทุกฝ่ายที่จะช่วยกันดูแลให้ความรู้ใหม่ๆ เป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนและสังคมอย่างแท้จริง

   4. หลักในการจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  -   กระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา  สถานศึกษา และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
         -       เอกภาพ นโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ

   5. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษาที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  มีความสำคัญมากในกระบวนการปฏิรูปเพราะเป็นการวางพื้นฐานไปสู่การที่จะ "ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา" และเป็นการกำหนดให้มีการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ปี เพื่อตอบสนองการจัดการศึกษา จัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการปรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์ สังคม การสื่อสารและการเรียนรู้ หรือมีร่างกายพิการหรือทุพพลภาพหรือบุคคลซึ่งไม่สามารถพึ่งตัวเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแลหรือด้อยโอกาส ต้องจัดให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิและโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดตามกฎกระทรวง การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลซึ่งมีความสามารถพิเศษ ต้องจัดด้วยรูปแบบที่เหมาะสมโดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น

   6. ระบบการศึกษาของไทยในปัจจุบันนี้มีกี่ระบบอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ สถานศึกษาสามารถจัดได้ทั้ง 3 รูปแบบ  และให้มีระบบเทียบโอนการเรียนรู้ทั้ง 3 รูปแบบ โดยพระราชบัญญัติการศึกษาฯ มาตรา 15  กล่าวว่าการจัดการศึกษามีสามรูปแบบ คือ การศึกษาในระบบ  การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย คือ
          (1) การศึกษาในระบบ  เป็นการศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย  วิธีการศึกษา หลักสูตร  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและการประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
          (2) การศึกษานอกระบบ  เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบวิธีการจัดการศึกษา  ระยะเวลาของการศึกษา  การวัดและประเมินผล  ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จการศึกษา  โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่ม
          (3) การศึกษาตามอัธยาศัย  เป็นการศึกษาที่ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองตามความสนใจศักยภาพ ความพร้อมและโอกาส  โดยศึกษาจากบุคคล ประสบการณ์ สังคม สภาพแวดล้อม หรือแหล่งความรู้อื่นๆ 


   7. ท่านสามารถนำแนวการจัดการศึกษา ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายฉบับนี้ไปสู่การปฏิบัติได้อย่างไร
ตอบ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเกิดขึ้นจากพื้นฐานความเชื่อที่ว่า การจัดการศึกษามีเป้าหมายสำคัญที่สุด คือ การจัดการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พัฒนาตนเองสูงสุด  ตามกำลังหรือศักยภาพของแต่ละคน แต่เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งด้านความต้องการ ความสนใจ ความถนัด และยังมีทักษะพื้นฐานอันเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะใช้ในการเรียนรู้ อันได้แก่ ความสามารถในการฟัง พูด อ่าน เขียน ความสามารถทางสมอง ระดับสติปัญญา และการแสดงผลของการเรียนรู้ออกมาในลักษณะที่ต่างกัน จึงควรมีการจัดการที่เหมาะสมในลักษณะที่แตกต่างกัน ตามเหตุปัจจัยของผู้เรียนแต่ละคน และผู้ที่มีบทบาทสำคัญในกลไกของการจัดการนี้คือ ครู แต่จากข้อมูลอันเป็นปัญหาวิกฤตทางการศึกษา และวิกฤตของผู้เรียนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่า ครูยังแสดงบทบาทและทำหน้าที่ของตนเองไม่เหมาะสม จึงต้องทบทวนทำความเข้าใจ  ซึ่งนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตทางการศึกษาและวิกฤตของผู้เรียนต่อไป

   8. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 มีประเด็นใดบ้างและเหตุผลที่สำคัญในการแก้ไขคืออะไร 
ตอบ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้  คือ  โดยที่การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยการศึกษาระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา ซึ่งมีระบบการบริหารและการจัดการศึกษาของทั้งสองระดับรวมอยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละเขตพื้นที่การศึกษา  ทำให้การบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานเกิดความไม่คล่องตัวและเกิดปัญหาการพัฒนาการศึกษา  สมควรแยกเขตพื้นที่การศึกษาออกเป็นเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาและเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เพื่อให้การบริหารและการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพ  อันจะเป็นการพัฒนาการศึกษาแก่นักเรียนในช่วงชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาให้สัมฤทธิ์ผลและมีคุณภาพยิ่งขึ้น  จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

 9. การที่กฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฐานะเป็นนิติบุคคลท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ  เห็นด้วย เพราะ การมีกฎหมายกำหนดให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคลมีจุดมุ่งหมายสำคัญที่จะทำให้สถานศึกษามีอิสระ เพื่อให้การบริหารเป็นไปอย่างคล่องตัว รวดเร็วและสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน สถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่น และประเทศชาติโดยรวม

   10. การที่กฎหมายกำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีสิทธิจัดการศึกษาในระดับใด ระดับหนึ่ง หรือทุกระดับตามความพร้อม ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ   เห็นด้วย เพราะไม่ว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรใด  เมื่อมีความพร้อมในการจัดการศึกษาก็สามารถจัดการศึกษาได้เนื่องจากเป็นการช่วยให้คนในชุมชนสามารถศึกษาได้สะดวกและเต็มที่และเปิดโอกาสให้คนที่ขาดโอกาสได้ศึกษาและประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางเพราะไม่ต้องไปศึกษาใกล้บ้าน

   11. หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษามีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ จากความหมายของการประกันคุณภาพภายใน จะเป็นการประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถานศึกษานั้น หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
1) การประกันคุณภาพภายในให้ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา และเป็นหน้าที่ของบุคลากรทุกคนในสถานศึกษา ที่ต้องดำเนินการอย่างมีระบบและต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงปรัชญา หลักการ วิสัยทัศน์ พันธกิจ และภารกิจ ของสถานศึกษาที่กำหนดไว้
2) จัดให้มีกลุ่ม ฝ่ายหรือคณะกรรมการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายและผู้รับบริการ เพื่อการพัฒนาคุณภาพให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
3) พัฒนามาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาเพิ่มในส่วนที่เป็นลักษณะเฉพาะของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับท้องถิ่น
4) จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพและแผนปฏิบัติการของสถานศึกษาและดำเนินงานตามแผนดังกล่าว
5) ดำเนินการตรวจสอบ ติดตามเพื่อการพัฒนาคุณภาพให้เป็นไปตามเป้าหมายและมาตรฐานการศึกษา
6) จัดทำรายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเสนอหน่วยงานต้นสังกัด ภาคีเครือข่ายและเผยแพร่ต่อสาธารณชน
7) รายงานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาต่อคณะกรรมการสถานศึกษา และมีการกำหนดมาตรการร่วมกันในการพัฒนาสถานศึกษาไปสู่มาตรฐานการศึกษาที่กำหนด

   12. การที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ ท่านเห็นด้วยหรือไม่ เพราะเหตุใด
ตอบ เห็นด้วย เพราะการที่กฎหมายกำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ทั้งรัฐและเอกชน ต้องมีใบประกอบวิชาชีพ นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับบุคลที่ต้องการจัดการศึกษาให้กับประชาชาทุกระดับเนื่องจากเป็นการประกันคุณภาพว่าผู้ที่จะมาสอนผู้อื่นนั้นต้องมีความพร้อมทั้งด้านร่างการ  สติปัญญาและความเป็นครูมากพอ  เพราะเนื่องจากหากคนที่จะต้องมาสั่งสอนผู้อื่นขาดตรงนี้ไปแล้วจะสอนคนอื่นให้ดีได้อย่างไร  ให้เป็นคนดีของสังคมได้อย่างไร 
   13. ท่านมีแนวทางในการระดมทุน และทรัพยากรเพื่อการศึกษาในท้องถิ่นของท่านอย่างไรบ้าง
ตอบ  สำหรับข้าพเจ้าคิดว่าจัดเป็นงานสังสรรค์บอกจุดประสงค์ของการจัดงานให้คนในชุมชนมาร่วมงานและจัดให้นักเรียน และคนในชุมชนมาตั้งซุ้มขายสินค้าราคาประหยัด  หรือผลผลิตในชุมชน   มีการให้นักเรียนออกร้านขายของและรับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาเพื่อนำมาสมทบทุนให้แก่โรงเรียน เป็นการสร้างความร่วมมือภายในชุมชนด้วย
   14. ท่านมีแนวทางในการพัฒนาสื่อ เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  การพัฒนาสื่อนั้นเราต้องคำนึงว่าเราจะทำเพื่อใคร  ในระดับไหน  มีความสำคัญอย่างไรในการศึกษา   จากนั้นก็มาศึกษาการการทำสื่อและเนื้อหาที่จะมาทำสื่อเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและมีเนื้อหาที่ถูกต้องน่าสนใจและสอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น